ชื่อโครงการ
10
การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตบรรจุภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้จากกล้วยหอมทองเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าเกษตร
บทคัดย่อ ( Abstract )
โครงการชุดเรื่อง การพัฒนาเทคโนโลยี การผลิตบรรจุภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช จากกล้วยหอมทองเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม แก่สินค้าเกษตรซึ่งมีโครงการย่อยประกอบด้วย 1) การออกแบบและการพัฒนาเครื่องขึ้นรูปภาชนะของต้นกล้วย, เครื่องรีดกาบกล้วย, และเครื่องปั่นเส้นใยกล้วย, 2)โครงการพัฒนาอัตลักษณ์และบรรจุภัณฑ์ชีวภาพจากต้นกล้วย กาบกล้วย และเส้นใยกล้วย และ 3) โครงการพัฒนานวัตกรรมแผ่นไม้ประดิษฐ์จากเศษวัสดุต้นกล้วยหอมทองเหลือใช้เพื่อทดแทนไม้จริง โครงการทั้งหมดนี้เกิดจากทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนวัยหวาน ตําบลไร่ใหม่พัฒนา อําเภอชะอํา จังหวัดเพชรบุรี มีความประสงค์ให้ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ช่วยแก้ปัญหาเทคโนโลยีนวัตกรรมการผลิตของทางกลุ่ม ซึ่งตรงกับ ภารกิจของมหาวิทยาลัยในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 ในการบริการวิชาการจากภูมิปัญญาสู่สังคม การเพิ่มมูลค่าองค์ความรู้สู่สังคม และส่งเสริมผู้ประกอบการ อันเป็นภาระกิจที่ตอบสนองตรงกับประเด็นกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่12 (2560-2564) วิสัยทัศน์ประเทศไทย ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 เรื่องการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้มหาวิทยาลัยมีบุคลากรที่มีความรู้ความชํานาญสามารถถ่ายทอดทักษะเทคโนโลยีและนวัตกรรม ในการผลิตเครื่องอุตสาหการขนาดย่อม เพื่อขึ้นรูปบรรจุภัณฑ์ชีวภาพชนิดต่างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีเครื่องเรือนที่ชํานาญการผลิตไม้ประสานจากเศษวัสดุเพื่อใชทดแทนไม้จริง พร้อมยกระดับการผลิตเพื่อสร้างเศรษฐกิจชุมชนและประเทศชาติให้สู่ความมั่นคง มั่นมั่ง ยั่งยืน
เอกสารโครงการ( Paper )
ผู้เขียน ( Authors )
- นางสาวประภาพร ร้อยพรมมา
- นางโสภา หนูแดง
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิชัย พรมาลัยรุ่งเรือง
- นางวิไลลักษณ์ บินดาร์
- นางสาวชนิดา ป้อมเสน
- นายมนูญ จิตต์ใจฉํ่า
ข้อมูลโครงการวิจัย
แหล่งทุน
เงินงบประมาณแผ่นดิน
ชื่อของทุน
กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) : งบประมาณด้าน ววน. Full Proposal ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564
ปีทีได้รับทุน
2564
จำนวนเงินที่ได้รับ
1,600,000.00
สถานะปัจจุบันของโครงการ
โครงการเสร็จสิ้น
ระยะเวลาทำโครงการวิจัย
ตั้งแต่ Jun 8, 2566 ถึงวันที่ Oct 31, 2563
วันที่อัพเดตข้อมูลล่าสุด
2023-06-21 12:02:34