ชื่อโครงการ
28
แนวทางการวิจัยเพื่อพัฒนากราฟิกและบรรจุภัณฑ์ : กรณีศึกษา บริษัท อาร์แอนด์ดีฟู๊ดส์โปรดักส์ จังหวัดราชบุรี
บทคัดย่อ ( Abstract )
แนวทางการวิจัยเพื่อพัฒนากราฟิกและบรรจุภัณฑ์ : กรณีศึกษา บริษัท อาร์แอนด์ดีฟู๊ดส์โปรดักส์ จังหวัดราชบุรี โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อศึกษากราฟิกและบรรจุภัณฑ์สินค้าบริษัท อาร์แอนด์ดีฟูดส์โปรดักส์ 2. เพื่อพัฒนากราฟิกบรรจุภัณฑ์สินค้าบริษัท อาร์แอนด์ดีฟูดส์ โปรดักส์ 3. เพื่อออกแบบบรรจุภัณฑ์รวมชุดของฝากอัตลักษณ์ราชบุรี 4. เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อกราฟิกและบรรจุภัณฑ์ บริษัท อาร์แอนด์ดีฟูดส์โปรดักส์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริโภคสินค้าตราแม่บ้านในเขตจังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่เข้ามาเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ตราแม่บ้านในห้างสรรพสินค้าในจังหวัดราชบุรี รวมจำนวน 100 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ค่าเฉลี่ย และส่วนส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ด้านออกแบบตราสินค้า มีความพึงพอใจในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.39 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.60 คือ สัญลักษณ์มีความสวยงามเป็นรูปแบบภาพกราฟิกลายเส้น เหมาะสมกับกาลเวลา สามารถการย่อ แล้วมองเห็นได้ชัดเจน ด้านการพัฒนากราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ มีความพึงพอใจในระดับมาก คือ มีค่าเฉลี่ย 4.28 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.71 คือกราฟิกสามารถบ่งชี้ประเภทของผลิตภัณฑ์ แสดงบุคลิกสินค้าผลิตภัณฑ์ได้อย่างชัดเจน สื่อสารสรรพคุณของสินค้าได้ดี ดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค สื่อสารเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ได้ดี ด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ มีความพึงพอใจระดับมากคือ มีค่าเฉลี่ย 4.41 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.65 คือ มีขนาดที่เหมาะสมกับการบรรจุสินค้า สามารถปกป้องสินค้าที่อยู่ด้านในได้ดี โครงสร้างมีความแข็งแรง ผู้บริโภคสามารถหยิบจับสินค้าได้สะดวก มีความสวยงาม มีอัตลักษณ์ของชุมชนอย่างชัดเจน และผลความพึงพอใจที่มีต่อกล่องบรรจุภัณฑ์รวมชุดของฝากจากราชบุรี ด้านการออกแบบกราฟิก มีความพึงพอใจในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.46 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.59 คือ คือกราฟิกสามารถบ่งชี้ประเภทของผลิตภัณฑ์ แสดงบุคลิกสินค้าผลิตภัณฑ์ได้อย่างชัดเจน สื่อสารสรรพคุณของสินค้าได้ดี ดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค สื่อสารเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ได้ดี ด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยมีความพึงพอใจระดับมากคือ มีค่าเฉลี่ย 4.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.74 มีขนาดที่เหมาะสมกับการบรรจุสินค้า สามารถปกป้องสินค้าที่อยู่ด้านในได้ดี โครงสร้างมีความแข็งแรง ผู้บริโภคสามารถหยิบจับสินค้าได้สะดวก มีความสวยงาม มีอัตลักษณ์ของชุมชนอย่างชัดเจน
เอกสารโครงการ( Paper )
ผู้เขียน ( Authors )
- สมชาย ดิษฐาภรณ์
ข้อมูลโครงการวิจัย
วันที่อัพเดตข้อมูลล่าสุด
2020-06-18 11:29:30