ชื่อโครงการ
54
องค์ประกอบทางเคมี ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านมะเร็ง และปริมาณของน้ำมันหอมระเหย และสารสกัดจากต้นย่านางในเขตพื้นที่ จังหวัดนครสวรรค์.
บทคัดย่อ ( Abstract )
งานวิจัยนี้ ศึกษาองค์ประกอบทางเคมี ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านมะเร็ง และปริมาณของน้ำมันหอมระเหย และสารสกัดจากต้นย่านางในเขตพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ โดยสกัดส่วนเหนือพื้นดินของต้นย่านางด้วยเฮกเซน คลอโรฟอร์ม และเมทานอล ตามลำดับ สกัดน้ำมันหอมระเหยด้วยวิธี hydro-distillation และศึกษาองค์ประทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยที่ได้โดย GC-MS ศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี ABTS และ DPPH ศึกษาฤทธิ์ต้านมะเร็ง ผลศึกษาปริมาณสารสกัดหยาบและปริมาณน้ำมันหอมระเหย พบว่า ต้นย่านางจากอำเภอเก้าเลี้ยวมีปริมาณสารสกัดหยาบเมทานอลมากที่สุด ต้นย่านางจากอำเภอตาคลีมีปริมาณน้ำมันหอมระเหยมากที่สุด ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดหยาบ ด้วยวิธี ABTS พบว่า น้ำมันหอมระเหยต้นย่านางในเขตอำเภอบรรพตพิสัย มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด คิดเป็นค่า IC50 เท่ากับ 2.53 mg/mL สารสกัดหยาบจากการสกัดด้วยเฮกเซนในเขตอำเภอบรรพตพิสัย มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของมากที่สุด คิดเป็นค่า IC50 เท่ากับ 2.94 mg/mL ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของน้ำมันหอมระเหยและสารสกัดหยาบด้วยวิธี DPPH พบว่า น้ำมันหอมระเหยต้นย่านางในเขตอำเภอบรรพตพิสัย มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากที่สุด คิดเป็นค่า IC50 เท่ากับ 2.51 mg/mL ในเขตอำเภอเมืองตาคลี มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบเมทานอลมากที่สุด คิดเป็นค่า IC50 เท่ากับ 0.36 mg/ mL ศึกษาฤทธิ์ต้านมะเร็งของสารสกัดหยาบและน้ำมันหอมระเหยด้วยวิธี resazurin microplate assay (REMA) พบว่า สารสกัดหยาบเฮกเซน ในเขตอำเภอเมือง มีฤทธิ์ต้านมะเร็งชนิด KB-Oral cavity cancer และ MCF7-Breast cancer คิดเป็นค่า IC50 เท่ากับ 41.14 และ 38.26 µg/mL ตามลำดับ ฤทธิ์ต้านมะเร็งของน้ำมันหอมระเหย พบว่า น้ำมันหอมระเหย 5 อำเภอ มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง แต่ไม่สามารถคิดค่า IC50 ได้ องค์ประกอบทางเคมีของน้ำมันหอมระเหยที่ได้โดย GC-MS พบว่า อำเภอลาดยาว มีสารประกอบมากที่สุดคือ 14 ชนิด
เอกสารโครงการ( Paper )
ผู้เขียน ( Authors )
- ดวงสุรีย์ แสนสีระ
- กาญจนา ชินสำราญ
- วิเชียร กีรตินิจกาล
ข้อมูลโครงการวิจัย
วันที่อัพเดตข้อมูลล่าสุด
2017-08-11 11:17:29