ชื่อโครงการ
26
การเตรียมฟิล์มที่บริโภคได้จากเปลือกมันสำปะหลังสำหรับยืดอายุการเก็บรักษาผลผลิตทางการเกษตร
บทคัดย่อ ( Abstract )
ผักและผลไม้ นับเป็นสินค้าส่งออกที่ทำรายได้ให้กับประเทศอย่างมหาศาล โดยในแต่ละปีไทยมียอดการส่งออกผัก ผลไม้ ทั้งรูปของสด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง รวม 3-4 หมื่นล้านบาทต่อปี และมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 15-20% ซึ่งเป็นเพราะผลผลิตผักผลไม้ของไทยมีความหลากหลาย และต่อเนื่องตลอดปี ทำให้มีความได้เปรียบด้านประเภทสินค้า และมีความยืดหยุ่นด้านปริมาณการส่งออก ทั้งยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ รสชาติดีเป็นที่นิยม และได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคในต่างประเทศ ทั้งนี้ ตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ จีน เวียดนาม อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และฮ่องกง คิดเป็นสัดส่วนรวม 79% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ขณะเดียวกันก็มีตลาดอื่นที่มีอัตราการขยายตัวสูง เช่น พม่า ที่ตลาดมีการขยายตัวถึง 45% และเกาหลีใต้ ที่ตลาดมีการขยายตัวอยู่ที่ 20% ในส่วนของตลาดจีน แม้ว่าปัจจุบันจีนจะมีฐานะเป็นประเทศคู่แข่งในตลาด ผักและผลไม้ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นผู้บริโภครายใหญ่ และหลายมณฑลยังเป็นศูนย์กลางในการกระจายสินค้าอีกด้วย โดยผลไม้ที่ได้รับความนิยมในจีน ได้แก่ ลำไย มังคุด ทุเรียน กล้วยไข่ เงาะ รวมถึงมะม่วง และชมพู่ ซึ่งมีวางจำหน่ายอยู่ทั่วไปตั้งแต่ในซุปเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ไปจนถึงร้านขายผลไม้ขนาดเล็ก และผลไม้ของไทยยังได้รับความนิยมในตลาดอาหรับ เช่น คูเวต บาห์เรน และ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ด้วยเนื่องจากผลไม้ไทย เช่น มะม่วง เงาะ มังคุด เป็นที่นิยม และที่รู้จักของผู้บริโภคท้องถิ่นประกอบกับไม่สามารถหาสินค้าพื้นเมืองทดแทนได้ และในบางประเทศมีภูมิอากาศแห้งแล้งไม่สามารถเพาะปลูกได้ จึงส่งผลให้มีความต้องการนำเข้าผักและผลไม้อย่างต่อเนื่อง ในตลาดยุโรป เช่น กรีซ และ สวิตเซอร์แลนด์ สับปะรดแห้ง และสับปะรดแช่อิ่ม จากไทยได้รับความนิยมค่อนข้างสูง เนื่องจากมีคุณภาพ และรสชาติดี แต่เนื่องจากสับปะรดนำเข้าจากไทยมีราคาสูงกว่าที่นำเข้าจากภูมิภาคอเมริกาใต้ หรือแอฟริกา จึงทำให้ส่วนแบ่งตลาดในสวิตเซอร์แลนด์ ยังไม่มากนัก สำหรับตลาดในสหรัฐอเมริกานั้น ผลไม้ไทยที่เป็นที่ต้องการของตลาดสหรัฐอเมริกา ฝั่งตะวันตก ได้แก่ มังคุด, ลำไย และเงาะ ขณะที่ตลาดในรัฐแคลิฟอร์เนีย และรัฐใกล้เคียงมีความต้องการบริโภคมะม่วงที่สูงมาก แต่ไทยยังไม่สามารถแข่งขันกับมะม่วงจากเม็กซิโกได้ เนื่องจากต้นทุนค่าขนส่งทางอากาศที่สูงและคุณภาพมะม่วงที่ไม่มีความทนทานกับการขนส่งที่ใช้เวลาทางเรือได้ เนื่องจากมีการสัมผัสกับอากาศร้อนหรือความชื้นทำให้ผลไม้เกิดการเปลี่ยนแปลง ผลไม้เหล่านี้หลังการเก็บเกี่ยว การหายใจและกระบวนการทางชีวเคมียังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องทำให้คุณภาพของผัก ผลไม้ เช่น สี กลิ่น รสชาติ รวมถึงคุณค่าทางโภชนาการเปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง โดยกระบวนการหายใจเป็นกระบวนการที่ใช้ออกซิเจนจากสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนไปเป็นคาร์โบไฮเดรตสะสมไว้ในรูปของ สตาร์ซและน้ำตาล ได้เป็น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และพลังงงานในรูปของความร้อน กระบวนการหายใจแบบใช้ออกซิเจนเป็นไปดังสมการ C6H12O6 + 6O2® 6CO2 + 6H2O + energy(heat) พลังงานความร้อนที่เกิดจากกระบวนการหายในเรียกว่า Vital heat หรือ Respiration heat ซึ่งจะช่วยให้เกิดการเน่าเสีย ถ้าผลไม้มีอัตราการหายใจสูงก็จะทำให้เกิดการเน่าเสียได้ง่าย และมีการคายน้ำสูงตามไปด้วยทำให้คุณภาพของผลไม้เสียไป[1] ตามธรรมชาติแล้วผิวของผลไม้เหล่านี้จะมีสารจำพวกไขเคลือบผิวเพื่อช่วยปกป้องการสูญเสียน้ำจากการคายน้ำออกมาที่ผิวอยู่แล้ว แต่เมื่อมีการสัมผัสกับอากาศร้อนหรือความชื้น สารเคลือบผิวเกิดการเปลี่ยนแปลงและไม่สามารถปกป้องผลไม้เหล่านั้นไว้ได้นานๆ ในปัจจุบันเทคโนโลยีหลัง
เอกสารโครงการ( Paper )
ผู้เขียน ( Authors )
- ชุติมา อุปถัมภ์
ข้อมูลโครงการวิจัย
วันที่อัพเดตข้อมูลล่าสุด
2017-08-08 09:00:51