ชื่อโครงการ
32
นวัตกรรมเครื่องตรวจหารอยลายนิ้วมือแฝงสำหรับงานพิสูจน์หลักฐานอาชญากรรม
บทคัดย่อ ( Abstract )
หลังจากที่ประเทศไทยได้ผ่านปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่ยืดเยื้อ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการลงทุนจากภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ และการบริโภคของประชาชน ทำให้เศรษฐกิจในประเทศถดถอย ค่าใช้จ่ายในการอุปโภคและบริโภคประจำวันเพิ่มสูงขึ้น และเกิดปัญหาการว่างงานเป็นจำนวนมาก นำไปสู่ปัญหายาเสพติดและปัญหาอาชญากรรม เช่น การทำร้ายร่างกาย การข่มขืน การปล้นทรัพย์ การฆ่าชิงทรัพย์ เป็นต้น ซึ่งกระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ประชาชนขาดคุณภาพชีวิตที่ดี เกิดความหวาดระแวง ไม่เชื่อใจกัน เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบกัน และเกิดความเสื่อมโทรมทางสังคมและศีลธรรม เมื่อพิจารณาปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นดังกล่าวข้างต้นจากมุมมองทางด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านความมั่นคง และด้านกระบวนการยุติธรรม พบว่าปัญหาเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดการก่อการร้ายหรือสงครามกลางเมืองที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นดังที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กำลังประสบอยู่ ซึ่งเป็นปัญหาวิกฤตด้านความมั่นคงที่สลับซับซ้อนเชื่อมโยงถึงกันในทุกมิติทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 สถานการณ์การก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อําเภอของจังหวัดสงขลาได้ทวีความรุนแรงขึ้นตามลําดับ จากสถิติการก่อเหตุและการสูญเสียในพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 - 2553 พบว่ามีการก่อเหตุรวมทั้งสิ้น 11,371 เหตุ จําแนกเป็นเหตุยิง 6,064 เหตุ คิดเป็น 53.33 % เหตุระเบิด 1,941 เหตุ คิดเป็น 17.07 % และเหตุวางเพลิง 1,463 เหตุ คิดเป็น 12.87 % นอกจากนั้นจากสถิติการจับกุมปราบปรามอาวุธปืนผิดกฎหมาย อาวุธสงคราม และวัตถุระเบิด ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 พบว่ามีจำนวนมากขึ้นทุกปี และคาดว่าเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนพื้นที่ชายแดนซึ่งเคยเป็นพื้นที่ปิด จะถูกเปลี่ยนสภาพไปสู่พื้นที่เปิดกว้างเพื่อการติดต่อคมนาคม การค้า และการท่องเที่ยวมากขึ้น โอกาสที่จะก่อภัยรูปแบบใหม่ๆ มีโอกาสสูงมากขึ้น และการใช้พื้นที่ชายแดนใต้เป็นแหล่งซุกซ่อน ลำเลียง และพักอาวุธต่างๆ จะมีมากขึ้น ดังนั้นจึงได้มีการจัดตั้งศูนย์นิติวิทยาศาสตร์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศูนย์พิสูจน์หลักฐาน 10) ขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นหน่วยงานทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สามารถตรวจพิสูจน์ของกลางได้ครอบคลุมในทุกเรื่อง จากสถิติการตรวจพิสูจน์ปี พ.ศ. 2552 มีการตรวจพิสูจน์ของกลางในที่เกิดเหตุกว่า 8,869 เหตุ ศาลรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์และพิจารณาลงโทษจากพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ 15 คดี ส่วนใหญ่เป็นการเก็บพยานหลักฐานและตรวจโดยเจ้าหน้าที่ถึง 11 คดี ส่วนของกระทรวงยุติธรรมเพียง 4 คดี ในการเก็บพยานหลักฐานเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำผิดมารับโทษตามกฎหมายนั้น ต้องอาศัยการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงกัน สามารถนำไปสู่การยืนยันตัวผู้กระทำผิดได้ ซึ่งขั้นตอนในการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานนั้นมีความสำคัญมาก จึงต้องมีการพัฒนาวิธีการตรวจพิสูจน์หลักฐานด้วยเทคโนโลยีและการใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เพราะพยานหลักฐานแต่ละชิ้นนั้นสามารถระบุตัวผู้กระทำผิดและขั้นตอนในการกระทำผิดได้ โดยพยานหลักฐานที่สามารถพบได้ในสถานที่เกิดเหตุ ได้แก่ คราบเลือด คราบอสุจิ คราบน้ำลาย รอยฟัน เส้นผม และรอยลายนิ้วมือ เป็นต้น แต่พยานหลักฐานที่มีความสำคัญและพบมากที่สุดในสถานที่เกิดเหตุ คือ รอยลายนิ้วมือ (fingerprints) ซึ่งสามารถนำมาตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลเพื่อยืนยันตัวผู้กระทำผิดได้อย่างถูกต้องแ
เอกสารโครงการ( Paper )
ผู้เขียน ( Authors )
- ชุติมา อุปถัมภ์
ข้อมูลโครงการวิจัย
วันที่อัพเดตข้อมูลล่าสุด
2017-08-08 08:50:03