ชื่อโครงการ
42
การพัฒนากระดาษเหนียวแบบฟอกขาวประเภทผิวกล่องจากใบสับปะรดที่เหมาะสมต่อการพิมพ์บรรจุภัณฑ์
บทคัดย่อ ( Abstract )
การพัฒนากระดาษเหนียวแบบฟอกขาวประเภทผิวกล่องจากใบสับปะรดที่เหมาะสมต่อ การพิมพ์บรรจุภัณฑ์ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อปรับปรุงสมบัติของกระดาษจากใบสับปะรดให้เหมาะ สมสำหรับงานบรรจุภัณฑ์ 2) เพื่อทดสอบสมบัติที่เหมาะสมในการนำไปใช้งานตามมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.170-2550 3) เพื่อทดสอบความเหมาะสมต่อการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ของกระดาษใบสับปะรดที่ปรับปรุงแล้ว งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลองโดยศึกษาอัตราส่วนผสมกันที่ต่างกันระหว่างเยื่อสับปะรดกับเยื่อสนในอัตราส่วน 100:0 , 75:25 , 50:50 , 25:75 , 0:100 เพื่อขึ้นรูปแผ่นกระดาษแล้วทดสอบสมบัติทางกายภาพและเชิงกล เมื่อได้อัตราส่วนที่มีความเหมาะสมแล้วจึงนำอัตราส่วนนั้นมาทำการฟอกขาวจากนั้นจึงนำมาเคลือบสาร Alkyl Ketene Dimer (AKD), Polymer และ Silica ในอัตราส่วน 4:4:2.5 , 8:4:2.5 , 12:4:2.5 , 16:4:2.5 และ 20:4:2.5 แล้วนำมาขึ้นรูปแผ่นกระดาษและนำไปพิมพ์สกรีนจากนั้นจึงนำไปทดสอบตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มอก. 170-2550 และการทดสอบทางการพิมพ์ ผลการวิจัยพบว่าอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมในสมบัติเชิงกายภาพและเชิงกลในงานวิจัยนี้คืออัตราส่วนผสมเยื่อใบสับปะรดกับเยื่อสนที่ 100:0 และเมื่อนำไป ใส่สารเคลือบและนำไปทดสอบทางการพิมพ์พบว่าอัตราส่วนที่มีความเหมาะสมคือ 4:4:2.5, 8:4:2.5 , 12:4:2.5 และ 16:4:2.5 ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมอยู่ในช่วงที่กำหนดของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 170-2550 และสามารถนำไปผลิตเป็นกระดาษผิวกล่องที่เหมาะสมต่อการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำไปใช้ได้และลดต้นทุนในการนำเข้าเยื่อสนที่มีราคาแพงได้
เอกสารโครงการ( Paper )
ผู้เขียน ( Authors )
- จันทรัสจ์
- วุฒิสัตย์วงศ์กุล
ข้อมูลโครงการวิจัย
วันที่อัพเดตข้อมูลล่าสุด
2017-07-20 10:39:24