ชื่อโครงการ
32
การศึกษาแผ่นใยไม้อัดจากเศษขี้เลื่อยโดยใช้ผลผลิตจากครั่งเป็นตัวประสาน
บทคัดย่อ ( Abstract )
การศึกษาแผ่นใยไม้อัดจากเศษขี้เลื่อยโดยใช้ผลผลิตจากครั่งเป็นตัวประสาน มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมระหว่างเศษขี้เลื่อยไม้แดงกับแชลแลค (2) เพื่อศึกษาสมบัติทางกายภาพและเชิงกล งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลองโดยศึกษาอัตราส่วนผสมกันที่ต่างกันระหว่างเศษขี้เลื่อยไม้แดงกับผลผลิตจากครั่ง (ในการทดลองนี้ได้ใช้แชลแลคผงบริสุทธิ์) ผสมกับแอลกอฮอล์ 100 % คือ 5%, 10%, 15%, 20%, 30% และ 40% โดยวิธีการดำเนินงานวิจัยดังนี้ คัดขนาดของเศษขี้เลื่อยที่อบแห้งและนำไปบดผสมกับแชลแลคที่ผสมกับแอลกอฮอล์แล้วจึงนำไปอัดเป็นแผ่นด้วยเครื่องอัดร้อน จากนั้นทำการเตรียมชิ้นงานเพื่อการทดสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง ( มอก. 966-2547 ) ในห้องปฏิบัติการทดลอง ผลการวิจัยพบว่าอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมในงานวิจัยนี้คืออัตราส่วนผสมแชลแลคที่ 20%, 30% และ 40% ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมอยู่ในช่วงเกณฑ์ที่กำหนดของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 966-2547 เป็นวัสดุที่สามารถนำไปใช้ทดแทนแผ่นใยไม้อัดความหนาแน่นปานกลางได้ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์และการตกแต่งภายใน ข้อเสนอแนะในงานวิจัยคือควรศึกษาเพิ่มเติมด้านการนำสารยึดติดชนิดอื่นๆ มาทดลองใช้เพื่อลดความเหนียวของแชลแลค ควรศึกษาอุณหภูมิและเวลาที่มีผลโดยตรงต่อสมบัติด้านต่างๆ ด้วย
เอกสารโครงการ( Paper )
ผู้เขียน ( Authors )
- นงค์นุช กลิ่นพิกุล
ข้อมูลโครงการวิจัย
วันที่อัพเดตข้อมูลล่าสุด
2017-07-20 10:42:02