ชื่อโครงการ
24
การพัฒนานวัตกรรมหมึกพิมพ์อินทรีย์จากเปลือกทุเรียนเหลือทิ้งเสริมด้วยอนุภาคสังกะสีออกไซด์นาโนสำหรับการประยุกต์ใช้เป็นตัวบ่งชี้ทางชีวภาพในการวิเคราะห์ลมหายใจ
บทคัดย่อ ( Abstract )
โครงการวิจัยนี้ เป็นการพัฒนาหมึกพิมพ์อินทรีย์ที่มีคุณสมบัติสามารถตรวจจับแก๊สอะซิโตน (acetone) ที่อุณหภูมิห้อง ที่ความดันบรรยากาศ สามารถนำไปใช้เป็นต้นแบบตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ (biomarker) สำหรับการวิเคราะห์ลมหายใจของมนุษย์เพื่อทำนายโอกาสของการเกิดปัญหาสุขภาพหรือโรคร้ายต่าง ๆ เช่น โรคในช่องปากและลำคอ โรคหอบหืด มะเร็งปอด และโรคเบาหวาน การพัฒนาหมึกพิมพ์จะศึกษาสัดส่วนหมึกพิมพ์ที่เหมาะสมที่สุดเพื่อตรวจจับแก๊สอะซิโตนที่ระดับความเข้มข้นต่ำโดยใช้สารสีที่เตรียมได้จากเปลือกทุเรียนเหลือทิ้งที่ถูกเผาจากเตาเผาไร้ควันเปลี่ยนเปลือกทุเรียนเหลือทิ้งให้เป็นถ่านกัมมันต์ (activated carbon) ที่มีพื้นที่ผิว (surface area) สูง แล้วนำไปผสมกับ วานิช (varnish) และสารเติมแต่ง ได้แก่ พอลิเมอร์ต่าง ๆ และ อนุภาคซิงค์ออกไซด์นาโนด้วยกระบวนการสปาร์กทางไฟฟ้า (electric sparking process) เพื่อให้หมึกพิมพ์มีคุณสมบัติการนำไฟฟ้า มีความหนืดและความตึงผิวที่เหมาะสมสำหรับนำหมึกพิมพ์ไปใช้ในระบบการพิมพ์ เช่น การพิมพ์แบบพ่นหมึก (inkjet printing) และการพิมพ์แบบสกรีน (screen printing) สำหรับเป็นต้นแบบเพื่อนำไปใช้ในระบบอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่เพื่อผลิตจำนวนมากได้ ผลผลิตที่ได้จากโครงการวิจัยนี้ คือ ต้นแบบของตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่มีคุณสมบัติสามารถตรวจจับแก๊สอะซิโตนที่ความเข้มข้นระดับต่ำ สามารถนำไปพัฒนาต่อเพื่อหาผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือบุคคลที่เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน จากนั้นนำผลการวิจัยไปตีพิมพ์เผยแพร่ลงในวารสารวิชาการในฐานข้อมูล SJR (Scopus) Q1-Q2 อย่างน้อย 1 บทความ ผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการวิจัยนี้ คือ นำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ในการเรียนการสอน อย่างน้อย 1 รายวิชา และการบริการวิชาการ อย่างน้อย 1 โครงการ ดังนี้ - การเรียนการสอนรายวิชา การพิมพ์สกรีน1 (2324101) ในหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) สาขาวิชาเทคโนโลยีการพิมพ์ดิจิทัลและออกแบบบรรจุภัณฑ์ - โครงการบริการวิชาการ “โครงการหมึกพิมพ์อินทรีย์นำไฟฟ้าสำหรับระบบการพิมพ์แบบพ่นหมึกและแบบสกรีน
เอกสารโครงการ( Paper )
ไม่มีเอกสารอัพโหลด
ผู้เขียน ( Authors )
- อุดมเดช ภักดี
ข้อมูลโครงการวิจัย
วันที่อัพเดตข้อมูลล่าสุด
2023-12-30 02:04:34