รายละเอียดโครงการวิจัย

ชื่อโครงการ

พันธุศาสตร์เซลล์ระดับโมเลกุลของจิ้งจกสกุลจิ้งจกหิน (Gehyra : GEKKONIDAE) เพื่อการอนุรักษ์ในประเทศไทย

บทคัดย่อ ( Abstract )

การศึกษาพันธุศาสตร์เซลล์ระดับโมเลกุลของจิ้งจกสกุลจิ้งจกหิน (Gehyra : GEKKONIDAE) ซึ่งมีรายงานพบจำนวน 4 ชนิดในประเทศไทย โดยเป็นการเก็บตัวอย่างจิ้งจกสกุลจิ้งจกหินในพื้นที่ชุมชน เกษตรกรรม และป่าในทุกภาคของประเทศไทย และทำการเตรียมโครโมโซมโดยวิธีทางตรงจากอวัยวะที่มีการแบ่งตัวตลอดเวลาในตัวสิ่งมีชีวิต (in vivo) ทำการย้อมสีโครโมโซมด้วยวิธีการย้อมแถบสีโครโมโซมแบบธรรมดา แบบนอร์ รูปร่างโครโมโซม การศึกษาในระดับดีเอ็นเอหรือโมเลกุลสามารถตรวจสอบได้โดยเทคนิคฟลูออร์เรสเซนต์อินซิทูไฮบริไดเซชัน (Fluorescent in situ hybridization, FISH) การศึกษาการแบ่งเซลล์แบบไมโอซีส (meiosis) ศึกษาจำนวน รูปร่างโครโมโซม ตรวจสอบหาเครื่องหมายของโครโมโซม จัดแคริโอไทป์ และทำอิดิโอแกรมโดยใช้เซลล์ระยะเมทาเฟสที่มีโครโมโซมการกระจายตัวดี เพื่อตรวจสอบรายละเอียดความสัมพันธ์ของเซลล์วิทยากับชนิดของสิ่งมีชีวิต จากการประเมินคุณลักษณะของโครโมโซมเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจัดจำแนกอนุกรมวิธานและการนำไปเป็นข้อมูลในการอนุรักษ์ การศึกษาจำนวนโครโมโซมและรูปแบบแคริโอไทป์ของสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มจิ้งจกหินที่มีรายงานการศึกษาน้อย การศึกษาในครั้งนี้จะเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการนำเทคนิค FISH และวิธีการศึกษาโครโมโซมที่เหมาะสมไปใช้ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานทางอนุกรมวิธานประกอบการจำแนกชนิดของจิ้งจกสกุลจิ้งจกหินได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังสามารถนำวิธีการนี้ไปประยุกต์ใช้ในการศึกษาโครโมโซมของสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มจิ้งจกสกุลอื่นได้ต่อไป ดังนั้นโครงการวิจัยนี้แบ่งวัตถุประสงค์การวิจัยเป็น 3 ข้อแบ่งเป็นแบบต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ประกอบด้วย ต้นน้ำ ได้แก่ 1) ศึกษาพันธุศาสตร์เซลล์ระดับโมเลกุลของจิ้งจกสกุลจิ้งจกหิน (Gehyra : GEKKONIDAE) เพื่อการอนุรักษ์ในประเทศไทยโดยเกิดองค์ความรู้ใหม่ ได้แก่ ข้อมูลพันธุศาสตร์เซลล์ระดับโมเลกุลของจิ้งจกสกุลจิ้งจกหินเพื่อเป็นฐานข้อมูลด้านพันธุกรรมของจิ้งจกสกุลจิ้งจกหินในประเทศไทย กลางน้ำ ได้แก่ 2) หาแนวทางจัดการความรู้พันธุศาสตร์เซลล์ระดับโมเลกุลของจิ้งจกสกุลจิ้งจกหินเพื่อการอนุรักษ์ในประเทศไทย ได้นวัตกรรมที่ช่วยขับเคลื่อนวิชาการ ชุมชน สังคม และเศรษฐกิจ ได้แก่ องค์ความรู้แนวทางจัดการความรู้พันธุศาสตร์เซลล์ระดับโมเลกุลของจิ้งจกสกุลจิ้งจกหินเพื่อการอนุรักษ์ในประเทศไทย และ 3) ปลายน้ำ ได้แก่ นำผลการวิจัยไปเผยแพร่ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการที่มีมาตรฐานในระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล ISI (Q3, Q4) ที่มีค่าผลกระทบ (IF) จำนวน 1 เรื่อง

เอกสารโครงการ( Paper )

คลิกเพื่อดาวโหลด

ผู้เขียน ( Authors )

  • วีระ ทองเนตร,ศ. ดร.อลงกลด แทนออมทอง, ดร.ฤทัยรัตน์ สุทธิสุวรรณ, นายสาโรช เจริญศักดิ์

วันที่อัพเดตข้อมูลล่าสุด

2023-06-26 03:56:47