ชื่องานวิจัย ( Article Name)
52
วัฒนธรรมการเล่น
บทคัดย่อ ( Abstract )
วิถีชิวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์โดยปกติมีบางช่วงเวลาต้องการการผ่อนคลาย การเล่นเป็นการผ่อนคลายแบบหนึ่ง ซึ่งแตกต่างกันตามคติความเชื่อ สังคม ประเพณีและภูมิปัญญาของแต่ละท้องถิ่น เด็กมีธรรมชาติเป็นปกติเช่นกัน หากพิจารณาไตร่ตรองอย่างพินิจพิเคราะห์ จะพบว่าการเล่นของเด็กหาใช่เพียงความสนุกสนานเพลิดเพลินเสียอย่างเดียว แต่การเล่นส่วนหนึ่งเป็นไปเพื่อการพัฒนาร่างกายอารมณ์สังคมและจิตใจและบางยังยังเป็นการเรียนรู้และเสริมประสบการณ์ พร้อมทั้งปลุกฝังคุณธรรมจริยธรรม และวัฒนธรรมต่างๆให้โดยทางอ้อม (นิคม มูสิกะคามะ, 2542) สังคมวัฒนธรรมในอดีตเป็นสังคมเกษตรกรรมก่อนพัฒนามาเป็นสังคมอุตสาหกรรมและสังคมเมือง พื้นที่การเล่นหรือลานบ้านลานกิจกรรมให้เด็กได้เล่นสนุกสนานมีอยู่มากมาย จึงเป็นพื้นที่เปิดโล่งเพื่อดำเนินกิจกรรมเรียนรู้ร่วมกันถ่ายทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่น จาก รุ่นปู่ยา สู่ พ่อแม่ สู่ลูก สู่หลาน เช่นการเล่นลูกข่างของชาวม้ง การเล่นลูกข่าง (การเล่นลูกข่าง ชนเผ่าม้ง เชียงราย, 2558) หรือที่เรียกกันว่า“เดาต้อลุ๊”เป็นการละเล่นที่นิยมเล่นกันในวันขึ้นปีใหม่เป็นการละเล่นสำหรับผู้ชายโดยเฉพาะ วิธีเล่นเมื่อต้องการเล่นก็จะนำไม้ที่ผูกเชือกยาวประมาณสองถึงสามเมตรมาม้วนรอบ ลูกข่าง โดยมือข้างหนึ่งจะถือลูกข่างที่ถูกเชือกหมุนพันรอบไว้ และมืออีกข้างจะถือไม้ที่ผูกเชือกที่หมุนรอบลูกข่างไว้ แล้วเอามือทั้งสองสะบัดไปข้างหน้า พร้อมดึงไม้ที่ผูกเชือกไว้อย่างแรง แล้วลูกข่างจะตกสู่พื้นแล้วหมุน ซึ่งในกติกาในการเล่นจะถูกแบ่งออกเป็นสองฝ่าย โดยที่ฝ่ายหนึ่งจะเป็นฝ่ายตี ลูกข่างที่กำลังหมุนอยู่ของอีกฝ่าย โดยฝ่ายที่ตีนั้นจะต้องพยายามตีลูกข่างให้ถูกมากที่สุด ซึ่งถ้าหากสามารถทำการตีถูกมาก ก็จะสามารถทำการตีต่อไปได้ แต่หากตีไม่ถูกก็จะต้องเปลี่ยนมาเป็นฝ่ายหมุนลูกข่างให้อีกฝ่ายผลัดไปเป็น ฝ่ายตีแทน การเล่นลูกข่างนี้ นอกจากจะได้รับความสนุกสนานจากการเล่นแล้ว ยังเป็นการฝึก และทดสอบความแม่นยำ ปัจจุบันการละเล่นลูกข่างเริ่มหายไปตามวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป อย่างไรก็ตาม การเล่นลูกข่างก็ยังมีให้เห็นอยู่บ้างในช่วงเทศกาลปีใหม่หรือเทศกาลต่าง ๆ ของชนเผ่า
เอกสารวิจัย ( Paper )
ผู้เขียน ( Authors )
- ธนวรรณ เวียงสีมา
ข้อมูลการเผยแพร่ ( Journal Infomation )
ชื่อวารสารที่ตีพิมพ์
วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
หน่วยงานเจ้าของวารสาร
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
ลิงค์ฐานข้อมูลวารสารที่เผยแพร่
http://human. uru.ac.th/JournaUindex.htm
ประเภทฐานข้อมูล
-
ประเมินบทความโดย
ผู้ประเมินอิสระ
วันที่ได้รับการอนุมัติ
Jun 27, 2561
วันที่เผยแพร่
Jun 27, 2561
เผยแพร่ระดับ
ระดับชาติ
เลขที่ ISBN / ISSN / DOI
ISSN 23509317
ปีที่ - ฉบับที่ - หน้าที่
ปี 2 ฉบับที่ 2 หน้าที่ 43-52
แหล่งทุนงานวิจัย
เงินรายได้คณะ สถาบัน สำนัก
วันที่อัพเดตข้อมูลล่าสุด
2018-06-27 09:34:57