รายละเอียดวารสารวิชาการ

  • เสน่ห์ สำเภาเงิน
  • Saneh Sompoangeon
  • สาขา ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
  • -
  • saneh.s@mail.rmutk.ac.th

ชื่องานวิจัย ( Article Name)

การออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศ กรณีศึกษาโคมไฟร่วมสมัยจากเศษกระจูด

บทคัดย่อ ( Abstract )

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลและแนวทางการใช้ประโยชน์จากเศษกระจูด 2) เพื่อทดสอบสมบัติทางกายภาพและเชิงกลของแผ่นไม้อัด 3) เพื่อออกแบบโคมไฟร่วมสมัยจากเศษกระจูด จากเศษกระจูด และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจต้นแบบโคมไฟร่วมสมัยจากเศษกระจูด กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยมี 3 กลุ่ม ได้แก่ ตัวแทนสมาชิกของวิสาหกิจชุมชนทะเลน้อยจำนวน 3 คน ตัวแทนผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ จำนวน 5 คน และตัวแทนผู้ที่พักอาศัยในเขตสาทร กรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบทดสอบ มาตรฐาน มอก. 876-2547 แบบสอบถามประเมินรูปแบบ และแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการลงพื้นที่สัมภาษณ์ รวมถึงศึกษาข้อมูลจากเอกสารเพื่อเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล และใช้การวิจัยเชิงปริมาณ ในการเก็บข้อมูลและวัดตัวแปรเป็นค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวทางความเป็นไปได้ที่จะแก้ปัญหาและใช้ประโยชน์จากเศษกระจูด คือ การนำไปอัดเป็นแผ่นไม้ ขนาด 36 x 36 x 1 ซม. 2) ผลการทดสอบสมบัติทางกายภาพและเชิงกลของแผ่นไม้อัดจากเศษกระจูด พบว่า ค่าที่ได้จากการทดสอบผ่านมาตรฐาน มอก. 876-2547 ทั้งหมด 3) ผลการประเมินรูปแบบโคมไฟร่วมสมัยจากเศษกระจูด มีความเหมาะสมในระดับมาก ( X = 4.25, S.D. = 0.71) โดยใช้ลักษณะเส้นโครงของใบไม้เป็นแนวคิดในการออกแบบ ใช้วิธีการผลิตแบบถอดประกอบได้ ซึ่งมีพื้นที่เศษเหลือจากการตัดหรือฉลุแผ่นไม้โดยประมาณ 398.80 ตร.ซม. คิดเป็นร้อยละ 30.77 และ 4) ผลการประเมินความพึงพอใจต้นแบบโคมไฟร่วมสมัยจากเศษกระจูด โดยผู้ที่พักอาศัยในเขตสาทร พบว่า ค่าเฉลี่ยรวมทุกด้าน มีความพึงพอใจในระดับมาก (X = 4.48, S.D. = 0.59)

เอกสารวิจัย ( Paper )

VIEW

ผู้เขียน ( Authors )

  • เสน่ห์ สำเภาเงิน
  • วรัฐฐา คงสม