ชื่องานวิจัย ( Article Name)
15
ประสิทธิภาพของสารสกัดผักชีลาว (Anethum graveolens Linn.) ผักเพกา (Oroxylum indicum Vent.) และผักแพรว (Polygonum odoratum Lour.) ในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก (Plutella xylostella Linn.)
บทคัดย่อ ( Abstract )
การทดสอบประสิทธิภาพในรูปของสารฆ่า สารยับยั้งการเจริญเติบโต และสารยับยั้งการกินของสารสกัดจากผักพื้นบ้าน 3 ชนิด คือผักชีลาว (Anethum graveolens Linn.) ผักเพกา (Oroxylum indicum Vent.) และผักแพรว (Polygonum odoratum Lour.) ที่สกัดด้วย acetone, ethanol และ hexane ต่อหนอนใยผัก (Plutella xylostella Linn.) วัย 3 โดยการทดสอบประสิทธิภาพในรูปของสารฆ่าโดยการกิน (oral toxicity) โดยหยดสารสารละลายของสารสกัดจากพืชเข้มข้น 0 (10% ของ tween-20 ในน้ำ), 2, 4, 6, 8 และ 10% ปริมาณ 15 μl ลงบนใบผักกวางตุ้งขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 cm ซึ่งมีปริมาณสารสกัดบนใบผักกวางตุ้งเท่ากับ 0, 3.8, 7.6, 11.4, 15.2 และ 19.0 μg/cm2 ตรวจนับเปอร์เซ็นต์การตายที่ 24 และ 48 ชั่วโมง และนำใบผักกวางตุ้งที่หยดสารมาเลี้ยงหนอนใยผักต่อจนเข้าดักแด้และออกเป็นตัวเต็มวัย พบว่าสารสกัดทั้ง 3 ชนิด มีประสิทธิภาพในการฆ่าหนอนใยผักภายใน 48 ชั่วโมง น้อย คือที่ความเข้มข้น 10% (19 μg/cm2) สามารถฆ่าหนอนได้น้อยกว่า 66.7% สารสกัดจากผักแพรวมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของหนอนใยผักมากที่สุดรองลงมาคือสารสกัดจากผักเพกาและผักชีลาวตามลำดับ โดนผักแพรวที่สกัดด้วย acetone มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของหนอนใยผักสูงที่สุด คือที่ 10% (19 μg/cm2) สามารถออกเป็นตัวเต็มวัยได้เพียง 6.7% เท่านั้น ในส่วนการทดสอบสารยับยั้งการกินโดยให้หนอนใยผักเลือกกิน (choice test) ตรวจนับปริมาณใบที่ถูกกิน ที่ 24 ชั่วโมง และคำนวณหาค่า antifeedant index (AFI) เปรียบเทียบกับการกินโดยการบังคับ (no-choice test) สารสกัดจากผักแพรวที่สกัดด้วย acetone มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการกินของหนอนใยผักสูงสุด มีค่า AFI เท่ากับ 100% ที่ความเข้มข้น 4% (7.6 μg/cm2) รองลงมาคือผักชีลาวที่สกัดด้วยhexane ใบผักกวางตุ้งที่หยดสารสกัดที่มีความเข้มข้นสูงขึ้นทำให้หนอนใยผักมีการกินที่ลดลง
เอกสารวิจัย ( Paper )
ผู้เขียน ( Authors )
- สาโรช เจริญศักดิ์
- จรงค์ศักดิ์ พุมนวน
- อำมร อินทร์สังข์
ข้อมูลการเผยแพร่ ( Journal Infomation )
ชื่อวารสารที่ตีพิมพ์
วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร. 39(3) (พิเศษ)
หน่วยงานเจ้าของวารสาร
สมาคมวิทยาศาสตร์การเกษตรแห่งประเทศไทย
ลิงค์ฐานข้อมูลวารสารที่เผยแพร่
tci-thaijo.org
ประเภทฐานข้อมูล
-
ประเมินบทความโดย
-
วันที่ได้รับการอนุมัติ
Jun 12, 2550
วันที่เผยแพร่
May 29, 2551
เผยแพร่ระดับ
ระดับชาติ
เลขที่ ISBN / ISSN / DOI
-
ปีที่ - ฉบับที่ - หน้าที่
ปี 39 ฉบับที่ 3 หน้าที่ 464-467
แหล่งทุนงานวิจัย
เงินจากแหล่งทุนอื่น ๆ
วันที่อัพเดตข้อมูลล่าสุด
2023-06-21 07:56:32