ชื่องานวิจัย ( Article Name)
22
การประยุกต์ใช้วิธีเชิงพันธุกรรมเพื่อหาค่าใช้จ่ายรวมต่ำที่สุดสำหรับแผนการชักตัวอย่างเพื่อการยอมรับแบบสองชุด
บทคัดย่อ ( Abstract )
แผนการชักตัวอย่างเพื่อการยอมรับรุ่นแบบสองชุดภายใต้ความเสี่ยงของผู้ผลิตและผู้บริโภคเป็นเครื่องมือสำคัญในการ กำหนดแผนการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม ซึ่งในสถานการณ์จริงผู้ใช้งานอาจไม่ทราบถึงค่าความเสี่ยงของผู้ผลิตและ ผู้บริโภคที่แท้จริง เพียงแต่ทราบสัดส่วนเสียในรุ่นการผลิต งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเลือก แผนการชักตัวอย่างเพื่อการยอมรับแบบสองชุดที่เหมาะสมภายใต้แนวคิดที่ทราบเพียงค่าสัดส่วนเสียในรุ่นการผลิต และ ต้องการให้เกิดค่าใช้จ่ายรวมในการตรวจสอบ (TC) ต่ำที่สุด โดยประยุกต์ใช้วิธีทางพันธุกรรมช่วยคำนวณหาค่าที่เหมาะสม ของขนาดตัวอย่าง (n1, n2) และจำนวนของเสียมากสุดที่ยอมรับได้ (c1, c2) ผลการศึกษาพบว่าเงื่อนไข n1 = n2 และ c1 ≤ c2 – 1 ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายรวมต่ำที่สุด ส่วนเงื่อนไข n1 = 2n2 และ c1 ≤ c2 – 1 จะส่งผลให้ค่าจำนวนของเสียที่ตรวจพบมากที่สุด นอกจากนี้พบว่าเมื่อขนาดตัวอย่างเพิ่มมากขึ้นจะส่งผลให้ค่าใช้จ่ายรวมในการตรวจสอบ (TC) จำนวนของเสีย ที่ตรวจพบ (Nd) และจำนวนตัวอย่างที่นำมาตรวจสอบเฉลี่ย (ATI) จะเพิ่มขึ้นด้วย ในขณะที่ความน่าจะเป็นที่จะยอมรับรุ่น (Pa) และคุณภาพผ่านออก (AOQ) มีค่าลดลงตามลำดับ
เอกสารวิจัย ( Paper )
ผู้เขียน ( Authors )
- ปราโมทช์ ฉลองรัตนสกุล
- วิมลมาศ บำรุงเศรษฐพงษ์
ข้อมูลการเผยแพร่ ( Journal Infomation )
ชื่อวารสารที่ตีพิมพ์
วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
หน่วยงานเจ้าของวารสาร
พระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ลิงค์ฐานข้อมูลวารสารที่เผยแพร่
http://ojs.kmutnb.ac.th/index.php/kjournal/article/view/2300/0
ประเภทฐานข้อมูล
-
ประเมินบทความโดย
ผู้ประเมินอิสระ
วันที่ได้รับการอนุมัติ
Aug 18, 2562
วันที่เผยแพร่
Nov 19, 2562
เผยแพร่ระดับ
ระดับชาติ
เลขที่ ISBN / ISSN / DOI
10.14416/j.kmutnb.2019.11.003
ปีที่ - ฉบับที่ - หน้าที่
ปี 30 ฉบับที่ 1 หน้าที่ 80-89
แหล่งทุนงานวิจัย
เงินจากแหล่งทุนอื่น ๆ
วันที่อัพเดตข้อมูลล่าสุด
2021-07-14 13:15:45