ชื่อโครงการ
22
สัณฐานวิทยาเรณูของพืชวงศ์จิก (Lecythidaceae) ในประเทศไทย
บทคัดย่อ ( Abstract )
ศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาเรณูของพืชวงศ์จิก (Lecythidaceae) ในประเทศไทย จำนวน 3 สกุล 10 ชนิด ได้แก่ สกุล Barringtonia 8 ชนิด สกุล Careya 1 ชนิด และสกุล Couroupita 1 ชนิด ด้วยกรรมวิธี อะซิโตไลซิส ศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด เพื่อนำลักษณะทางเรณูวิทยามาใช้สร้างรูปวิธานระบุชนิดพืชที่ศึกษา พบลักษณะสำคัญที่นำมาใช้ในการระบุพืชได้ในระดับสกุลเท่านั้น ได้แก่ ลักษณะของการเชื่อมหรือไม่เชื่อมของช่องเปิดแบบร่อง และรูปร่างขอบของช่องเปิดบริเวณด้านขั้ว พืชในสกุล Barringtonia ใช้ลักษณะขอบของช่องเปิดด้านแนวเส้นศูนย์สูตรแบ่งพืชได้ 2 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 เรณูแบบ B. asiatica type รูปร่างขอบของช่องเปิดเป็นสันหนาและมีแนวร่องแต่ไม่เชื่อมถึงด้านขั้ว ผิวเรณูเป็นช่องขนาดเล็กคล้ายร่างแหกระจายเกือบทั่วทั้งผิว ได้แก่ B. asiatica, B. longipes, B. macrocarpa, B. macrostachya และ B. pendula กลุ่มที่ 2 เรณูแบบ B. acutangula type รูปร่างขอบของช่องเปิดเป็นสันหนาและไม่มีแนวร่อง ผิวเรณูที่ติดกับบริเวณขอบของช่องเปิดเป็นช่องขนาดใหญ่คล้ายร่างแห ได้แก่ B. acutangula, B. augusta และ B. racemosa
เอกสารโครงการ( Paper )
ผู้เขียน ( Authors )
- พัชณี ศรีคำสุข
- ศ.ดร.ประนอม จันทรโณทัย
ข้อมูลโครงการวิจัย
วันที่อัพเดตข้อมูลล่าสุด
2017-07-22 14:27:40